SSF 2566

เตรียมความพร้อมลดหย่อนภาษี SSF 2566 มีความจำเป็นแค่ไหน

0 Comments

SSF 2566 (Super Saving Funds) หรือกองทุนรวมเพื่อการออม เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนพร้อมสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี เพราะ SSF คือ กองทุนรวมที่ส่งเสริมการออมเงินระยะยาว ช่วยให้ประชาชนมีเงินออมมากขึ้น และที่สำคัญสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ดังนั้นเมื่อใกล้ถึงช่วงปลายปี ก็ถึงเวลาที่เราจะมาทำความเข้าใจถึงความจำเป็นของกองทุน SSF และการเตรียมความพร้อมเพื่อการลดหย่อนภาษี ซึ่งคุณสามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้

เริ่มต้นทำความรู้จัก กับความสำคัญของกองทุน SSF 2566 ให้มากขึ้น

โดยเรื่องนี้เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายปี 2564 ที่อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศเรื่องการใช้สิทธิสำหรับลดหย่อนภาษีจากการซื้อกองทุนรวม SSF และ RMF โดยให้เริ่มตั้งแต่ปีภาษี 2565 เป็นต้นไป ดังนั้นผู้ที่มีเงินได้ และได้ทำการซื้อกองทุนดังกล่าวไว้ จะต้องแจ้งความประสงค์เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไปยังบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) ที่ตนเองได้ซื้อกองทุนไว้

และมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะตั้งข้อสงสัยเพิ่มเติมว่า บลจ. ทุกแห่งล้วนมีข้อมูลของผู้มีเงินได้อยู่แล้ว ทำไมยังต้องให้ผู้มีเงินได้แจ้งความประสงค์เพื่อขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีให้เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อนอีก เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ ประเทศไทยมีข้อกำหนดของกฎหมาย PDPA ที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอยู่นั่นเอง ที่ทำให้ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ และให้การยินยอมในการส่งต่อข้อมูลให้แก่บุคคลที่ 3 ต่อ บลจ. ไม่เช่นนั้น บลจ. จะไม่สามารถส่งข้อมูลของผู้มีเงินได้ให้แก่กรมสรรพากรได้ หากยังไม่รับความยินยอม

SSF 2566

หน้าที่ของผู้มีเงินได้ ที่ควรกระทำก่อนถึงปลายปี เพื่อใช้ SSF 2566 ลดหย่อนภาษี

เมื่อได้ทราบถึงความสำคัญของ SSF 2566 และความจำเป็นในการยื่นสิทธิขอลดหย่อนภาษีต่อ บลจ. กันไปแล้ว ต่อไปเราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ควรกระทำในช่วงปลายปีพร้อมกัน อันดับแรกคือ ผู้มีเงินได้ควรแจ้งยื่นสิทธิของลดหย่อนภาษีภายในวันที่ 31 ธันวาคม เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าสำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. ส่วนในช่วงต้นปีถัดไป บลจ. จะทำการส่งข้อมูลของผู้มีเงินได้ ให้แก่กรมสรรพากร ซึ่งตรงนี้มีเรื่องให้ทำความเข้าใจกันนิดเดียว สำหรับผู้ที่กำลังคิดจะซื้อกองทุน SSF และ RMF

โดยในการยื่นขอสิทธิลดหย่อนภาษีของผู้มีเงินได้ ให้กระทำต่อ บลจ. เพียงครั้งเดียว คือ เป็นการแจ้งความยินยอมตามข้อกำหนดของ PDPA เพียงครั้งเดียว ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องไปสู่ปีต่อ ๆ ไปโดยที่ไม่ต้องกระทำซ้ำ เช่น ปี 2566 ซื้อกองทุน SSF 2566 ไว้กับ บลจ. 2 แห่ง คือแห่งที่ 1 กับแห่งที่ 2 หากในปีภาษี 2567 ก็มีการซื้อกองทุนกับ บลจ.แห่งที่ 1 กับแห่งที่ 2 อีก ผู้มีเงินได้ก็ไม่ต้องยื่นขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีแล้ว แต่ถ้าหากมีการซื้อกองทุนกับ บลจ. แห่งที่ 3 เพิ่ม ผู้มีเงินได้จะต้องทำการแจ้งความยินยอมต่อ บลจ.แห่งที่ 3 เพื่อขอให้สิทธิลดหย่อนภาษี ซึ่งข้อมูลนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้กับค่าเบี้ยประกันชีวิต และเบี้ยประกันสุขภาพ ที่ได้เริ่มต้นทำในปี 2563 รวมไปถึงดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยที่ทำสัญญาในปี 2564 ด้วย ผู้มีเงินได้ต้องยื่นขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีและให้ความยินยอมต่อบริษัทประกัน และสถาบันการเงินด้วย

กองทุนรวม SSF 2566 เป็นกองทุนเพื่อการออมระยะยาวประจำปี 2566 หากผู้มีเงินได้เพิ่งซื้อกองทุนกับ บลจ. ในปีนี้ และเป็น บลจ. ที่ไม่เคยให้ความยินยอมมาก่อน อย่าลืมยื่นขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี และความความยินยอมต่อ บลจ. ด้วย เพราะการยื่นภาษีคือหน้าที่ของประชาชน และการลดหย่อนภาษีคือสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนพึงได้รับ ดังนั้นเตรียมความพร้อมและลงมือทำให้ถูกขั้นตอน เพื่อผลประโยชน์ของตัวคุณเอง และอย่าลืมสำรวจประกันชีวิต และประกันสุขภาพของตัวคุณเองและคนที่คุณรักด้วย ว่าได้ทำการให้ความยินยอมต่อบริษัทประกันหรือยัง